Tuesday, August 30, 2016

หมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูไปพบเข้า จึงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่(ชีวโก) ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ จึงหมายถึงบุตรบุญธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง
เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้
หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน
ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป

พระกีสาโคตมีเถรี

พระกีสาโคตมีเถรี หรือ พระกีสาโคตมี เกิดในวรรณะแพศย์ มีชื่อเดิมว่า "โคตมี" แต่เพราะมีร่างกายผ่ายผอมหลายคนจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "กิสาโคตมี" แปลว่า "นางโคตมีผอม" ในชั้นเดิมนั้นเคยมีอดีตเป็นถึงธิดาของมหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี แต่ต่อมาเกิดประสบวิกฤตการณ์บางอย่างทำให้กลายมาเป็นคนจน อย่างไรก็ตามท่านยังถือว่ามีบุญอยู่มากเพราะท่านได้แต่งงานกับบุตรของมหาเศรษฐีอีกคนหนึ่ง สดท้ายหลังการเสียชีวิตของบุตรของท่าน ทำให้ท่านมีความเศร้าโศกเสียใจมากจนมาได้พบพระพุทธเจ้าและทรงใช้อุบายแก้ความทุกข์ใจของท่านจนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา[2]
พระกีสาโตมีเถรี เมื่อบวชเป็นภิกษุณีแล้วได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ พระพุทะเจ้าทรงยกย่องให้ท่านเป็นพระภิณีผู้เอตทัคคะผู้เลิสกว่าภิกาณีอื่นในด้าน ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

พระองคุลิมาล

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า องคุลี (นิ้วมือ) + มาล (สร้อยคอ สาย หรือแถว) แปลว่า สร้อยคอที่ทำจากนิ้วมือ
แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล จนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก[1]
เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก

พระอานนท์

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ 2 ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัตต์ ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น
ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่ออกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระมัง เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอายพระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจบวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกด้วยเป็น 7 ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ แล้ว กราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

พระอัสสชิ

พระอัสสชิะ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก
พระอัสสชิะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นพระสงฆ์คนแรกที่ทำให้อุปติสสะมาณพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาพราหมณ์คนนี้คือพระสารีบุตร ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา... ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน
พระอัสสชิเป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก ท่าน เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นพระสงฆ์คนแรกที่ทำให้อุปติสสะมาณพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาพราหมณ์คนนี้คือพระสารีบุตร ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา... ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน ในพระพุทธศาสนา ท่านก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้มีกิริยามารยาทน่าเลื่อมใสมาก จนทำให้อุปติสสะมาณพ บุตรแห่งนายบ้านนาลันทาเกิดความเลื่อมใสและยอมตนบวชในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวพระคาถาสำคัญในพระพุทธศาสนาคือพระคาถาที่รู้จักกันดีว่าคือพระคาถา "เย ธมฺมา" พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว คาถานี้ได้รับการยอมรับมาก

พุทธศาสนสุภาษิต..ความไม่ประมาท

พุทธศาสนสุภาษิต
คำแปล
อปฺปมตฺตา น มียนฺติผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
อปฺปมาทรตา โหถท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติบัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถบัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโตผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท