Tuesday, August 30, 2016

หมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูไปพบเข้า จึงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่(ชีวโก) ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ จึงหมายถึงบุตรบุญธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง
เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้
หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน
ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป

พระกีสาโคตมีเถรี

พระกีสาโคตมีเถรี หรือ พระกีสาโคตมี เกิดในวรรณะแพศย์ มีชื่อเดิมว่า "โคตมี" แต่เพราะมีร่างกายผ่ายผอมหลายคนจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "กิสาโคตมี" แปลว่า "นางโคตมีผอม" ในชั้นเดิมนั้นเคยมีอดีตเป็นถึงธิดาของมหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี แต่ต่อมาเกิดประสบวิกฤตการณ์บางอย่างทำให้กลายมาเป็นคนจน อย่างไรก็ตามท่านยังถือว่ามีบุญอยู่มากเพราะท่านได้แต่งงานกับบุตรของมหาเศรษฐีอีกคนหนึ่ง สดท้ายหลังการเสียชีวิตของบุตรของท่าน ทำให้ท่านมีความเศร้าโศกเสียใจมากจนมาได้พบพระพุทธเจ้าและทรงใช้อุบายแก้ความทุกข์ใจของท่านจนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา[2]
พระกีสาโตมีเถรี เมื่อบวชเป็นภิกษุณีแล้วได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ พระพุทะเจ้าทรงยกย่องให้ท่านเป็นพระภิณีผู้เอตทัคคะผู้เลิสกว่าภิกาณีอื่นในด้าน ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

พระองคุลิมาล

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า องคุลี (นิ้วมือ) + มาล (สร้อยคอ สาย หรือแถว) แปลว่า สร้อยคอที่ทำจากนิ้วมือ
แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล จนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก[1]
เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก

พระอานนท์

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ 2 ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัตต์ ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น
ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่ออกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระมัง เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอายพระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจบวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกด้วยเป็น 7 ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ แล้ว กราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

พระอัสสชิ

พระอัสสชิะ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก
พระอัสสชิะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นพระสงฆ์คนแรกที่ทำให้อุปติสสะมาณพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาพราหมณ์คนนี้คือพระสารีบุตร ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา... ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน
พระอัสสชิเป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก ท่าน เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นพระสงฆ์คนแรกที่ทำให้อุปติสสะมาณพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาพราหมณ์คนนี้คือพระสารีบุตร ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา... ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน ในพระพุทธศาสนา ท่านก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้มีกิริยามารยาทน่าเลื่อมใสมาก จนทำให้อุปติสสะมาณพ บุตรแห่งนายบ้านนาลันทาเกิดความเลื่อมใสและยอมตนบวชในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวพระคาถาสำคัญในพระพุทธศาสนาคือพระคาถาที่รู้จักกันดีว่าคือพระคาถา "เย ธมฺมา" พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว คาถานี้ได้รับการยอมรับมาก

พุทธศาสนสุภาษิต..ความไม่ประมาท

พุทธศาสนสุภาษิต
คำแปล
อปฺปมตฺตา น มียนฺติผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
อปฺปมาทรตา โหถท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติบัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถบัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโตผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท

พุทธศาสนสุภาษิต..การชนะ

พุทธศาสนสุภาษิต
คำแปล
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติการให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติรสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ชิเน กทริยํ ทาเนนพึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
ชยํ เวรํ ปสวติผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
อสาธํ สาธุนา ชิเนพึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
อกฺโกเธน ชิเน โกธํพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.ความชนะใดที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี

พุทธศาสนสุภาษิต..ความโกรธ

พุทธศาสนสุภาษิตคำแปล
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเทพึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
โกโธ สตฺถมลํ โลเกความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเทพึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
อนตฺถชนโน โกโธความโกรธก่อความพินาศ
ทุกฺขํ สยติ โกธโนคนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโชความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้

พุทธศาสนสุภาษิต..การศึกษา

พุทธศาสนสุภาษิตคำแปล
หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร
อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ
คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่น เพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และ ศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว
โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต
วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน
ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบ วินัยคนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดัง กระบือบอดในกลางป่า
สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพาความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
ปุตฺเต วิชฺชาสุ ฐาปยบิดามารดา พึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา
โยคา เว ชายเต ภูริปัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะการฝึกฝน
ปญฺญาว ธเนน เสยฺโยปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์
สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
ปญฺญา นรานํ รตนํปัญญาเปรียบเสมือน เครื่องประดับแห่งตน
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโตปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
อวิทฺทสู มารวสานุวตฺติโนคนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจ แห่งมาร

พุทธศาสนสุภาษิต..ความเพียร

พุทธศาสนสุภาษิต
คำแปล
ขโณ โว มา อุปจฺจคาอย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติคนที่ผลัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํคนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติค่อยๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํอย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติคนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ
ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข
ผู้ที่ทำการงานลวกๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ
โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ ฯลฯ
คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของ กาฬกิณี
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรว่าเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็น พุทธานุศาสนี
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ
อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา
อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร
มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า

พุทธศาสนสุภาษิต..วาจา

พุทธศาสนสุภาษิตคำแปล
วาจํ ปมุญเจ กุสลํ นาติเวลํไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินแก่ควรกาล
พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเรคนมีปัญญา แม้มีปัญหา และ ถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใด ก็หลุดได้ในเรื่องนั้น
หทยสฺส สทิสี วาจาว า จ า เ ช่ น เ ดี ย ว กั บ ใ จ
น หิ มุญเจยฺย ปาปิกํไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย
อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติคนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดตัวในเรื่องนั้น
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํคนกล่าววาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน
มนุญฺญเมว ภาเสยฺยํควรกล่าวแต่วาจา ที่น่าพอใจ
ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจาคนโกรธมีวาจาหยาบ
สจฺจํ เว อมตา วาจาคำสัตย์ แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย
อภูวาที นิรยํ อุเปติคนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก..

พุทธศาสนสุภาษิต..บุคคล

พุทธศาสนสุภาษิตคำแปล
ธมฺมเทสฺสี ปราภโวผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวาอ่อนไปก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไปก็มีภัยเวร
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโตผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ทุวิชาโน ปราภโวผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม
สุวิชาโน ภวํ โหติผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ
โจรา โลกสฺมิมพฺพุทาพวกโจรเป็นเสนียดของโลก
ธมฺมกาโม ภวํ โหติผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
ครุ โหติ สคารโวผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง
ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํความซื่อสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย

พระมหาชนกชาดก

พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึง เมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลาในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
วันหนึ่ง พระมหาชนก ทรงประทับบนคอช้างเพื่อทอดพระเนตรอุทยาน ใกล้ประตูอุทยานมีมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน พระมหาชนกทรงเก็บมาเสวยผลหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าอุทยาน คนอื่นๆ ตั้งแต่พระอุปราชลงมาต่างก็แย่งเก็บผลมะม่วง จนมะม่วงต้นนั้นโค่นลง พระมหาชนกทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความสังเวชที่คนทั้งหลายหวังแต่ประโยชน์อย่างขาดปัญญา รำลึกได้ว่านางมณีเมขลาเคยสั่งให้พระองค์ตั้งมหาวิทยาลัย จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ในที่สุดได้ตั้งมหาวิชชาลัยปูทะเลย์ขึ้น โดยรำลึกว่าขณะที่ทรงว่ายน้ำในมหาสมุทรทั้ง 7 วัน 7 คืน มีปูทะเลยักษ์มาช่วยหนุนพระบาท

มโหสถชาดก

             
          ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา
ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก
7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมาร
ในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถวิสัชนาปัญหาได้หมด พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตีกรุงมิถิลา แต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จ จนพระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไป แต่ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันที

หลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุขัย

มหาชาติ

      เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ผู้แต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี (กลิ่น)
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน) 
 ความเป็นมา
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง
ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก  เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก
เรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 
๑๐ บารมี